|
ความหมายของตรา เทศบาลตำบลท่าสุด
คำอธิบายตราเครื่องหมายเทศบาลตำบลท่าสุด (ดวงตราใหม่)
ขนาด วงกลมวงนอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ขนาด 5 เซนติเมตร
ขอบบน มีอักษร “เทศบาลตำบลท่าสุด”
ขอบล่าง มีอักษร “จังหวัดเชียงราย”
รายละเอียดภาพ
สีทอง หมายถึง ท่าสุดแหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทองทางทิศตะวันออก
รวงข้าว หมายถึง บ้านแม่ข้าวต้มท่าสุดเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
พระธาตุ หมายถึง พระธาตุถ้ำผาตองปูชนียสถานอันเก่าแก่
ช้าง หมายถึง ผาช้างมูบพระธาตุสันขวางบ้านห้วยเคียน
พระพุทธรูป หมายถึง พระแสนแซ้ประดิษฐานที่วัดห้วยพลูที่ประชาชน 4 หมู่บ้านเคารพบูชาประกอบด้วย
บ้านห้วยพลู,บ้านสันต้นกอก,บ้านศรีป่าซาง และ บ้านพลูทอง
คำขวัญประจำตำบลท่าสุด
ท่าสุดหลากหลายชาติพันธุ์ ลือลั่นไม้แกะสลัก
อนุรักษ์ไหว้สาพระธาตุ แหล่งธรรมชาติถ้ำและหนอง
ชื่อเสียงก้องมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งเทศบาลตำบลท่าสุดอยู่ทิศเหนือของอำเภอเมืองเชียงราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ เมืองเชียงราย ประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 81.86 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 51,163.25 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลท่าสุดส่วนใหญ่มีสภาพเป็นที่ราบระหว่างภูเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลท่าสุดมีลักษณะภูมิอากาศดังนี้
1.ประเภทภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมากและยังผลให้ฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปีอุณหภูมิจะต่ำมาก เฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียส และในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยใน พ.ศ.2541 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส
2.ปริมาณฝน
ฝนที่ตก อยู่นั้นเป็นลักษณะของฝนภูเขา พื้นที่หน้าเขาจะได้รับฝนมากกว่าด้านหลังเขา และได้รับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดมาจากทะเลจีนใต้
3.ฤดูกาล มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่เริ่มลงมือเพาะปลูกพืชเมืองร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นฤดูในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม ฝนที่ตกเป็นฝนจากมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดมาจากทะเลจีนใต้
ฤดูหนาว เป็นฤดูของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมและสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์และไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคมในเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้นเป็นผลให้เกิดพายุฤดูร้อน เป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเมษายนอุณหภูมิสูงมาก
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลท่าสุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสุดทั้งตำบล โดยมีหมู่บ้านที่อยู่ใน การปกครอง จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านห้วยพลู
- หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นกอก
- หมู่ที่ 3 บ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด
- หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเคียน
- หมู่ที่ 5 บ้านบ่อทอง
- หมู่ที่ 6 บ้านถ้ำผาตอง
- หมู่ที่ 7 บ้านห้วยทรายขาว
- หมู่ที่ 8 บ้านศรีวิเชียร
- หมู่ที่ 9 บ้านศรีป่าซาง
- หมู่ที่ 10 บ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด
- หมู่ที่ 11 บ้านพลูทอง
ประชากร
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 12,293 คน แยกเป็นชาย 5,258 คน หญิง 7,035 คน จำนวนหลังคาเรือน 5,091 หลังคาเรือน
ตารางจำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนราษฎร (คน) |
จำนวน หลังคาเรือน |
||
หญิง |
ชาย |
รวม |
||
1.ห้วยพลู |
3,343 |
1,470 |
4,813 |
1,998 |
2.บ้านสันต้นกอก |
355 |
275 |
630 |
624 |
3.แม่ข้าวต้มท่าสุด |
556 |
512 |
1,068 |
437 |
4.ห้วยเคียน |
411 |
353 |
764 |
399 |
5.บ่อทอง |
670 |
612 |
1,282 |
612 |
6.ถ้ำผาตอง |
405 |
383 |
788 |
331 |
7.ห้วยทรายขาว |
214 |
198 |
412 |
187 |
8.ศรีวิเชียร |
432 |
386 |
818 |
272 |
9.ศรีป่าซาง |
531 |
478 |
1,009 |
563 |
10.แม่ข้าวต้มท่าสุด |
676 |
619 |
1,295 |
561 |
11.พลูทอง |
389 |
357 |
746 |
432 |
รวม |
7,982 |
5,643 |
1,3625 |
6,416 |
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ใช้ถนนพหลโยธินเส้นทางสายเชียงราย - แม่จัน(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1) เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมติดต่อกับตำบลและอำเภอใกล้เคียง การเข้าถึงสะดวกสบายมีรถโดยสารประจำทางรถรับจ้าง ผ่านตลอดวันเนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านไปยังอำเภอแม่จัน แม่สาย เชียงแสนและมีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีระบบประปาหมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน ประปาภูเขา 4 หมู่บ้าน
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ |
จำนวนเพศชาย |
จำนวนเพศหญิง |
จำนวนรวม |
ไม่มีอาชีพ |
197 |
315 |
512 |
นักเรียน |
589 |
564 |
1153 |
นักศึกษา |
97 |
112 |
209 |
ทำนา |
431 |
318 |
749 |
ทำไร่ |
17 |
22 |
39 |
ทำสวน |
36 |
40 |
76 |
ปศุสัตว์ |
1 |
0 |
1 |
รับราชการ |
53 |
33 |
86 |
พนักงานรัฐวิสาหกิจ |
2 |
3 |
5 |
พนักงานบริษัท |
15 |
15 |
30 |
รับจ้างทั่วไป |
1322 |
1178 |
2500 |
ค้าขาย |
157 |
329 |
486 |
ธุรกิจส่วนตัว |
24 |
23 |
47 |
อื่น ๆ หรือ ไม่ระบุ |
151 |
286 |
437 |
รวมทั้งหมด |
3092 |
3238 |
6330 |
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลท่าสุด
ร้านค้า |
จำนวน |
69 |
แห่ง |
ร้านอาหาร |
จำนวน |
54 |
แห่ง |
ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
โรงสีข้าว |
จำนวน |
10 |
แห่ง |
อู่ซ่อมรถยนต์ |
จำนวน |
7 |
แห่ง |
ตลาดสดหมู่บ้าน |
จำนวน |
4 |
แห่ง |
ตลาดสดเอกชน |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
โรงผลิตน้ำ |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
หอพัก |
จำนวน |
110 |
แห่ง |
มินิมาร์ค |
จำนวน |
7 |
แห่ง |
ร้านเสริมสวย |
จำนวน |
17 |
แห่ง |
บริษัท/หจก. |
จำนวน |
4 |
แห่ง |
ห้องแถว/ตึกแถว/อาคารพาณิชย์ |
จำนวน |
21 |
แห่ง |
ธนาคาร |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
ศูนย์บริการรถจักรยานยนต์ |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
เต็นท์รถยนต์มือสอง |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ / รถยนต์ |
จำนวน |
7 |
แห่ง |
ร้านเช่าวีดีโอ |
จำนวน |
4 |
แห่ง |
โรงแรม |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
คลินิกรักษาสัตว์ |
จำนวน |
2 |
แห่ง |
ร้านสะดวกซื้อ |
จำนวน |
7 |
แห่ง |
ร้านถ่ายเอกสาร |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
ร้านเกมส์/อิืนเตอร์เน็ต |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
ร้าน ซัก อบ รีด |
จำนวน |
11 |
แห่ง |
ร้านอัดฉีดรถ |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
สถานบันเทิง |
จำนวน |
16 |
แห่ง |
รถเช่า |
จำนวน |
4 |
แห่ง |
ขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า |
จำนวน |
2 |
แห่ง |
ร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
สภาพทางสังคม
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลท่าสุด
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง คือ โรงเรียนห้วยพลูพิทยา โรงเรียนบ้านบ่อทอง โรงเรียนบ้านถ้ำผาตอง และโรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (สอนถึงระดับมัธยมต้น) จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด
- มหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 7 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าสุด ร้อยละ 95.70 นับถือศาสนาพุทธ โดยมี วัดและ สถานที่ปฏิบัติธรรม จำนวน 11 แห่ง โดยตั้งอยู่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 มีประชากรร้อยละ 4.12 นับถือศาสนาคริสต์ โดยมีคริสตจักรเจริญธรรม จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 8 และหมู่ 11 นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าอีก จำนวน 7 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 10
วัฒนธรรมประเพณี
ชาวตำบลท่าสุด ยังยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีล้านนาอย่างเคร่งครัด ส่วนวัฒนธรรมทางด้านวัตถุซึ่งแสดงออกในรูปของอาคาร วัดวาอาราม จะเห็นว่าเป็นลักษณะผสม ทางด้านประเพณีของท้องถิ่น ที่ยังมีให้เห็นตราบจนถึงทุกวันนี้ พอจะประมาณได้ดังนี้
1. ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่มาแต่โบราณ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปีชาวตำบล ท่าสุด ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ วันมหาสงกรานต์ หรือวันต้นเปลี่ยนศักราชใหม่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันสังขารล่อง" หมายถึงว่า อายุสังขารของคนเราได้ล่วงไปอีกปีหนึ่งนิยมไปจนถึง 17 เมษายน ในแต่ละวันจะมิกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขนทรายเข้าวัด ทานตุงทำบุญใส่บาตร สรงน้ำพระพุทธรูปและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
2.ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นการแสดงความคารวะแก่ผู้ใหญ่ เรียกว่าเพื่อขอขมาลาโทษในความผิดพลาดต่าง ๆ ที่ผ่านมาและเป็นการแสดงออกถึง "กตเวทิตาธรรม" ต่อผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์หรือบุคคลที่เคารพนับถือ
3.ประเพณีสืบชะตาเป็นประเพณีของชาวไทยล้านนาโดยทั่วไปมีทั้งการสืบชะตาเมืองสืบชะตาบ้านและสืบชะตาบุคคล เพื่อความเป็นสิริมงคลความเจริญรุ่งเรืองมีการเตรียมเครื่องบูชาเซ่นไหว้ต่างๆมากมายเพื่อบูชาพระเสื้อเมืองพระทรงเมืองส่วนการสืบชะตาบุคคลนั้นมักจะทำเนื่องในวันเกิดงานขึ้นบ้านใหม่หรือเมื่อเจ็บป่วย
4.ประเพณีทานข้าวสลาก หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ตานก๋วยสลาก" หมายถึง ประเพณีถวายสลากภัตนั่นเอง เริ่มในวันเพ็ญเดือน 12 เหนือตลอดเดือนแล้วแต่ที่ใดจะเห็นเหมาะสมจัดวันใดก่อนวันพิธีถือว่าเป็น "วันดา" ชาวบ้าน จะเตรียม เครื่องไทยทานแล้วนำไปวัดที่จัดงานเพื่อถวายแด่ภิกษุและสามเณรมีการเขียนคำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและพวกเทวดาทั้งหลาย มีการจับสลากในการถวายตามหมายเลขว่าตรงกับพระรูปใดพระรูปนั้นก็จะรับประเคนและจะให้พร
5.ประเพณีลอยกระทง มีการลอยกระทงเช่นเดียวกับที่อื่น ๆ (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) ของทุกปีโดยทั่วไปจะลอยกระทงในวันขึ้น 15 ค่ำ
6.ประเพณีทำบุญปอย มี 3 อย่างคือ
1) ปอยหลวง มีการทำบุญฉลองอย่างใหญ่โต เช่น ฉลองโบสถ์ วิหารหรือเจดีย์มักจะทำกันในเดือน 5-8 เหนือ (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ซึ่งเป็นระยะเวลาหลัง จากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
2) ปอยน้อย หรือปอยบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชพระหรือบวชเณร ก่อนทำบุญปอยน้อยเจ้าภาพต้องปรึกษาญาติพี่น้องก่อนว่าผู้ใดจะรับเอาอะไรในอัฐบริขารโดยการบอกบุญด้วยปากเรียกว่า "แอ่ง" "ผ้าอุ้ม" "ทนทอ" แอ่งพระอุ้ม" คือเอาผ้าสบจีวรหรือหมวกที่พระใส่เรียกว่า "จ่อม" ใส่ในถาดหรือ พานแล้วให้คนถือไปบอกบุญ
3) ปอยข้าวสังฆ์ คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตาย การทำบุญปอยข้าวสังฆ์ จะต้องนิมนต์พระมาสวดและเทศน์ที่บ้าน เครื่องไทยทานที่นิยมถวายมักจะเป็นบ้านเล็ก ๆ หรือเรือนสำเภา มีข้าวของต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า หม้อถังน้ำ กระจก หวี ฯลฯ เป็นต้น
7.ประเพณีจุดบ้องไฟ ชาวบ้านเรียกว่า "จิบอกไฟ" มักทำหลังสงกรานต์ระหว่างเมษายนถึงพฤษภาคม โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้หมู่บ้านเจริญรุ่งเรืองและมีฝนตกตามฤดูกาล นิยมจุดกันในเวลาพลบค่ำถึงกลางคืน
ด้านสาธารณสุข
1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสุด จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด หมู่ที่ 3
2.สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 11 จำนวน 1 แห่ง
3.ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1
4.โรงพยาบาล ม.แม่ฟ้าหลวง ตั้งอยู่ ใน ม.แม่ฟ้าหลวง หมู่ที่ 1
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เทศบาลตำบลท่าสุดได้ให้สงเคราะห์เบี้ยยังชีพแก่ คนชรา คนพิการและผู้ติดเชื้อเอดส์ จำนวนทั้งสิ้น 1,102 ราย แยกเป็น
1) ผู้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 75 ราย
2) ผู้รับเงินเบี้ยความพิการ จำนวน 183 ราย
3) ผู้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 1,545 ราย
ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ตำบลท่าสุดมีศูนย์บริการประชาชน จำนวน 2 แห่ง สังกัดสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตตำบลท่าสุด ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 ตำบลท่าสุด และหน้ามหาวิทยาลัย มีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวนทั้งสิ้น 110 นาย มีรถยนต์บรรทุกน้ำขนาดความจุ 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน มีเรือท้องแบนที่สามารถติดตั้งเครื่องหาบหามได้ จำนวน 1 ลำ มีรถยนต์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและให้บริการแก่ประชาชนในตำบลท่าสุดและประชาชนทั่วไป จำนวน 1 คัน มีรถกู้ชีพ จำนวน 1 คัน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรน้ำ พื้นที่เทศบาลตำบลท่าสุดมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนี้
1.ลำห้วย ลำเหมือง จำนวน 23 แห่ง คือ ลำห้วยแม่ข้าวต้ม ลำห้วยสัก ลำห้วยงู ลำห้วยหนองบัว ลำห้วยพลู ลำห้วยป่าต๋าว ลำห้วยลึก ลำห้วยถ้ำ ลำห้วยหลวง ลำห้วยลูกช้าง ลำห้วยเหลือง ลำห้วยเวียงกลาง ลำห้วยทรายขาว ลำห้วยเคียน ลำห้วยหลวง ลำห้วยขัวสูง ลำห้วยขัวแตะ ลำห้วยบ้านก็อด ลำห้วยแก่นล่อน ลำห้วยลุงกุย ลำห้วยป่าหวาย ลำห้วยขม และลำเหมืองง่า
2.หนองน้ำ จำนวน 11 แห่ง คือ หนองน้ำศรีวิเชียร หนองแสลบเหนือ หนองแสลบใต้ หนองหัวควาย หนองป่าบัว หนองห้วยทรายขาว หนองป่าอ้อ หนองห้วยหมามูม หนองบัว หนองห้วยป่าต๋าว และหนองห้วยน้ำขุ่น
3.อ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำบ้านโม่งโก่ง อ่างเก็บน้ำดอยเทียนฟ้า อ่างเก็บน้ำแม่ข้าวต้มท่าสุดตามพระราชดำริ และอ่างเก็บน้ำห้วยสัก
4.ฝาย จำนวน 1 แห่ง คือ ฝายห้วยหลวง
ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ตำบลท่าสุด มีประมาณ 2,000 ไร่ ในหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 11 นอกจากนี้ยังมีป่าชุมชนเป็นแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็น
สภาพสิ่งแวดล้อม เนื่องจากตำบลท่าสุด เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีจำนวนประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาขยะ ประกอบกับเทศบาลตำบลท่าสุด ได้จ้างเหมาให้วิสาหกิจชุมชนตำบลท่าสุด นำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน สภาพอากาศมีปัญหาหมอกควันทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมอกควันทำให้เกิดอาการแสบตาและปัญหาทางระบบหายใจ